กรุงเทพฯ เมืองหลวงที่มีความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไม่ต่างจากต่างจังหวัด

การศึกษา การจัดการศึกษาของโรงเรียนในกรุงเทพฯ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากมีโรงเรียนหลายประเภททั้งโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และมหาวิทยาลัย สำหรับโรงเรียนที่อยู่ภายใต้กรุงเทพมหานครจะได้รับงบประมาณจัดสรรจากกรุงเทพฯ ผ่านสำนักการศึกษาและสำนักงานเขต นอกจากนี้การพัฒนาการศึกษายังต้องเป็นไปตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 และแผนพัฒนากรุงเทพฯ ระยะ 20 ปีอีกด้วย ในปี 2564 กรุงเทพฯ มีสถานศึกษาชั้นประถมฯ และมัธยมฯ สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพฯ 437 แห่ง และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 158 แห่ง รวม 595 แห่ง ส่วนโรงเรียนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนมี 825 แห่ง ข่าวการศึกษา ซึ่งคิดเป็นโรงเรียนสามัญศึกษา 729 แห่ง และโรงเรียนนานาชาติ 96 แห่ง เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างจำนวนโรงเรียนต่อ 1,000 ประชากร ซึ่งนับเฉพาะโรงเรียนสังกัด กทม. และ สพฐ. โดยไม่จำแนกระดับชั้นและขนาดของโรงเรียน พบว่า เขตพระนครมีสัดส่วนระหว่างจำนวนโรงเรียนต่อ 1,000 ประชากรมากที่สุดอยู่ที่ 2.91 อันดับที่ 2 สัมพันธวงศ์อยู่ที่ 1.63 และอันดับที่ 3 บางรักอยู่ที่ 1.45 ส่วนเขตที่มีสัดส่วนระหว่างจำนวนโรงเรียนต่อ 1,000 ประชากรน้อยที่สุดคือ คันนายาว อยู่ที่ 0.12 เนื่องจากเขตนี้มีโรงเรียนสังกัดรัฐบาลรวม 2 แห่ง แต่มีประชากรอายุ 0-18 ปี ถึง 15,942 คน จากข้อมูลจะเห็นภาพรวมเบื้องต้นได้ว่า มีความแตกต่างอย่างมากระหว่างเขตที่จำนวนประชากรต่อโรงเรียนน้อยที่สุดกับมากที่สุด โดยต่างกันเกือบ 30 เท่า เท่ากับว่า ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนอาจจะต่างกันมากตามไปด้วย เนื่องจากครูต้องรับภาระหนักจากจำนวนนักเรียนที่มากกว่า และอาจส่งผลให้ประชากรวัยนักเรียนที่อยู่ในเขตคันนายาวต้องเดินทางไปเรียนที่เขตอื่นแทน เพื่อให้ได้เรียนโรงเรียนที่มีคุณภาพดีกว่า

แนะนำข่าวการศึกษา อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : กสศ. จับมือ กทม. ปิดช่องว่างทางการศึกษา ป้องกันปัญหาเด็กหลุดนอกระบบ