นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โชว์โครงงานก่อนสำเร็จการศึกษา ออกแบบนวัตกรรมหัวลากรถเข็นผู้พิการระบบไฟฟ้า ปลอดภัยสูง ต้นทุนการผลิตไม่เกิน 1.4 หมื่นบาท มุ่งช่วยเหลือและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้

ออกแบบ นายเชิดเกียรติ ไชยพันโท นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี หัวหน้าทีม กล่าวว่า โครงงานออกแบบและสร้างหัวลากรถเข็นเพื่อคนพิการ ที่กลุ่มได้พัฒนาขึ้น นับเป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการช่วยเหลือผู้พิการ ซึ่งปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้มีผู้พิการทางร่างกายจำนวนมาก หลายคนใช้รถวีลแชร์ในการอำนวยความสะดวก แม้ปัจจุบันจะมีการผลิตรถเข็นไฟฟ้า ออกมาจำหน่ายอย่างแพร่หลายก็ตาม แต่ราคาค่อนข้างสูง ผู้ป่วยไม่มีกำลังในการซื้อ ดังนั้น กลุ่มนักศึกษาจึงเสนอโครงงานออกแบบนวัตกรรมหัวลากรถเข็นผู้พิการระบบไฟฟ้า หัวลากประกอบง่ายใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที โดยกลไกลระบบคอล็อคออโต้ เพื่อยกล้อหน้ารถเข็น มีฮับมอเตอร์เป็นกลไกการเคลื่อนตัวส่งกำลังโดยตรง ไม่มีการทดกำลัง ควบคุมเดินหน้า-ถอยหลัง โดยชุดกล่องคอนโทรล ระบบปรับความเร็วสูง – ความเร็วต่ำได้ ขับขี่ความเร็วสูงสุดที่ 40 กม./ชม. ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ความจุ 48V/15A สามารถขับเคลื่อนได้เป็นระยะทาง 32.8 กม.สะดวกสบายใช้งานง่ายไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนของชุดอุปกรณ์ในการจัดทำหัวลากรถเข็นระบบไฟฟ้า ผ่านการคำนวณและออกแบบด้านวิศวกรรมทั้งหมด ประกอบด้วย ฮับมอเตอร์ กล่องคอนโทรล อุปกรณ์ทำตัวล็อคออโต้ ปลอกแฮนด์ คันเร่ง/เรือนไมค์ แบตเตอรี่ลิเธียม และปั๊มเบรคล่าง จากการศึกษาค้นคว้าผลจากการทดสอบ ข่าวออกแบบ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำความรู้ทางวิศวกรรมพัฒนาออกแบบชิ้นงาน ใช้โปรแกรม Solidwork ใช้ต้นทุนการผลิตไม่เกิน 14,000 บาท นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจผลงานของนักศึกษา ว่าที่บัณฑิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ออกแบบนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ สร้างกำลังใจและคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่ผู้พิการและผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี ตลอดจนบัณฑิตสามารถนำความรู้วิชาชีพที่เรียนมาใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งจะเป็นบัณฑิตที่ดีและพึงประสงค์ต่อสังคมในอนาคต คณะนักศึกษาผู้เสนอโครงงานออกแบบหัวลากรถเข็นผู้พิการระบบไฟฟ้า กลไกชุดล็อกแขนจับหัวลากรถเข็นด้วยกลไกออโต้ล็อก ประกอบด้วย นายเชิดเกียรติ ไชยพันโท นายธนพล เกตุทอง เเละนางสาวลาวัลย์ จันดา

แนะนำข่าวออกแบบ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : เมื่อ ‘ปัญญาประดิษฐ์’ นำพา ‘จินตนาการ’ ไปสู่ชิ้นงานศิลป์เหมือนจริง