“สนค.” คาดทั้งปี 5.5-6.5% เงินเฟ้อเดือน ต.ค.ยังพุ่งตามราคาสินค้า

“สนค.” แจงสี่เบี้ย สินค้าราคาเพิ่มขึ้น 187 รายการ กดดันเงินเฟ้อเดือน ต.ค.65 พุ่ง 5.98% แต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง 2 เดือนติดต่อกัน หลังราคาน้ำมันเริ่มลดลง คาดการณ์เดือน พ.ย.-ธ.ค. ชะลอตัวต่อหลังน้ำท่วมคลี่คลาย และแนวโน้มเงินเฟ้อตลอดทั้งปีนี้อยู่ที่ 5.5-6.5%

ข่าวเศรษฐกิจ  นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ของไทย เดือน ต.ค.เท่ากับ 108.06 เพิ่มขึ้น 5.98% เมื่อเทียบเดือน ต.ค.2564 แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว 2 เดือนติดต่อกัน ตามการชะลอตัวของราคาน้ำมัน และสินค้าในกลุ่มอาหารบางรายการ ส่วนเมื่อเทียบเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 0.33% และเฉลี่ย 10 เดือนของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้น 6.15% เทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกเพิ่ม 3.17% เทียบเดือน ต.ค.2564 และเพิ่ม 0.05% เทียบเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ส่วนเฉลี่ย 10 เดือนแรกปีนี้ เพิ่ม 2.35%“จากการสำรวจราคาสินค้าทั้ง 430 รายการที่นำมาคำนวณเงินเฟ้อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีสินค้าที่ราคาเพิ่มขึ้น 187 รายการ ลดลง 79 รายการ และเท่าเดิม 164 รายการ ส่งผลให้เงินเฟ้อยังเพิ่มขึ้นอยู่ แต่เมื่อเทียบกับหลายประเทศ พบว่าเงินเฟ้อไทยยังเพิ่มไม่เยอะและมีระดับต่ำอยู่อันดับ 20 จาก 135 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงกว่าไทย เช่น ลาว สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมถึงประเทศใหญ่ๆ อย่างสหราชอาณาจักร อินเดีย สหรัฐฯ”สำหรับเงินเฟ้อเดือน ต.ค.ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 9.58% โดยกลุ่มอาหารสดราคายังเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ต้นหอม ผักบุ้ง ส้มเขียวหวาน น้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง ส่วนสินค้าที่ราคาลดลง เช่น แป้งข้าวเจ้า ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักชี ขึ้นฉ่าย กล้วยน้ำว้า มะพร้าวผลแห้ง-ขูด เป็นต้น สำหรับหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 3.56% ตามการเพิ่มขึ้นของกลุ่มพลังงาน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้งค่ายาและเวชภัณฑ์ ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ส่วนสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง เช่น ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ หน้ากากอนามัย แป้งผัดหน้า เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เป็นต้น

“สนค.” คาดทั้งปี 5.5-6.5% เงินเฟ้อเดือน ต.ค.ยังพุ่งตามราคาสินค้า

“แนวโน้มเงินเฟ้อที่เหลืออีก 2 เดือน คือ เดือน พ.ย.-ธ.ค. คาดว่าจะชะลอตัวลงต่อเนื่อง ประเมินว่าไม่น่าจะขยายตัวถึง 6% หรือใกล้เคียง 6% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ลดลงหลายรายการ

ข่าวเศรษฐกิจ  บางรายการราคาทรงตัว แม้ว่าต้นทุนจะสูงขึ้น เพราะรัฐมีมาตรการดูแลค่าครองชีพประชาชน ประกอบกับ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่เริ่มคลี่คลาย ส่งผลให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดมากขึ้น”ขณะเดียวกัน ยังต้องจับตาราคาพลังงาน ที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น รวมถึงกำลังซื้อภายในประเทศ ที่ปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออก การท่องเที่ยว และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่อยู่ในระดับดี ตลอดจนค่าเงินบาทที่ยังอ่อนค่า ทำให้ สนค.ประเมินว่า เงินเฟ้อตลอดทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 5.5-6.5% มีค่ากลางที่ 6% สอดคล้องกับเศรษฐกิจและการคาดการณ์เงินเฟ้อของหน่วยงานเศรษฐกิจต่างๆนายพูนพงษ์กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ระดับ 47.7 จากระดับ 46.4 ในเดือนก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 3 ปี ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคตหรืออีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 53.7 เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 เพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่คาดว่าจะออกมาในช่วงที่เหลือของปี และราคาน้ำมันที่ชะลอตัวลง และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว อาจกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย และกดดันต่อความเชื่อมั่น ผู้บริโภคในระยะต่อไป

แนะนำข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : กพช.วางนโยบายเข็นแผนฝ่าพิษพลังงาน